“ความตั้งใจ” หรือที่เรียกว่า “หักดิบ” เป็นปัจจัยสำคัญในการลด ละ เลิกบุหรี่ให้สำเร็จ แต่ทั้งนี้พบว่าในช่วงเลิกบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่จะมีอาการอยากบุหรี่ (เปรี้ยวปาก) ซึ่งสามารถใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชนเป็นตัวช่วยได้
มะนาว มะนาวเป็นผลไม้เปรี้ยวจัด มีวิตามินซีสูง เปลือกมีรสเผื่อน ขม ซึ่งวิตามินซีในมะนาวจะช่วยเปลี่ยนรสชาติ ของบุหรี่ให้เฝื่อน ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่และลดอาการอยากนิโคตินได้ อีกทั้งยังช่วยขจัดคราบบุหรี่ได้อีกด้วย
วิธีการใช้
1. หั่นมะนาวติดเปลือกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่โป้งหรือพอดีคำ
2. เมื่อมีความรู้สึกอยากบุหรี่ให้กินมะนาวแทน โดยอมแล้วค่อย ๆ ดูดความเปรี้ยว จากนั้นเคียวเปลือกอย่างช้า ๆ 3-5 นาที
หญ้าดอกขาว หญ้าดอกขาวถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2555 โดยมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดจนไม่นึกอยากสูบบุหรี่
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า หากใช้สมุนไพรหญ้า ดอกขาวติดต่อกันนาน 2 เดือน สามารถช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และหากใช้ร่วมกับการออกกำลังกาย จะสามารถช่วยเลิกสูบบุหรี่ได้มากขึ้น
วิธีการใช้
1. ชงเป็นชาดื่มครั้งละ 2 กรัม ผสมกับน้ำร้อน 120-200 มิลลิลิตร แช่ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วดื่มหลังอาหารวันละ 3-4 ครั้ง
2. เคี้ยวหรืออม ก้าน ใบ ขณะที่มีอาการอยากบุหรี่
กานพลู กานพลูมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นการอมดอกกานพลูจะทำให้รู้สึกชาปากบ้างเล็กน้อย และน้ำมันหอมระเหยของกานพลูยังช่วยทำให้ประสาทสลบ นอนหลับสบาย ช่วยระงับและดับกลิ่นปากอีกด้วย
วิธีการใช้
ใช้ดอกตูมประมาณ 3 ดอก อมไว้ในปากจะช่วยลดและระงับกลิ่นปากลงได้ และทำให้ปากชาแก้ความอยาก และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น
มะขามป้อม มีวิตามินซี และแทนนินสูง ซึ่งวิตามินซีจากมะขามป้อมมีประสิทธิภาพเหนือกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 10 เท่า (น้ำคั้นจากผลมะขามป้อม 100 กรัม จะมีวิตามินอยู่ 600-1,000 มิลลิกรัม) เนื่องจากมะขามป้อมมีรสเปรี้ยวและฝาด ดังนั้นจึงมี ฤทธิ์ทำให้รสของบุหรี่เปลี่ยนไปและรู้สึกไม่อยากบุหรี่ อีกทั้งผู้สูบบุหรี่จะสูญเสียวิตามินในร่างกาย ดังนั้นการเลิกบุหรี่โดยกินสมุนไพรที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น และควรดื่มน้ำมาก ๆ ควบคู่กัน
วิธีการใช้
1. กินผลมะขามป้อมสด เคี้ยวและอม
2. คั้นดื่มน้ำ
3. ทุบและตากแห้ง แล้วนำมาชงดื่ม
ใบโปร่งฟ้า (ส่องฟ้า หวกหม่อนต้น หัสคุณดง ลอดฟ้า) มีสารคาร์บาโซลที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สามารถ ลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้ และช่วยในการอดบุหรี่ เพราะใบมีรสชาติหวานปะแล่ม ๆ เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนไป ทำให้รู้สึกพะอืดพะอม อยากจะอาเจียน และไม่อยากสูบบุหรี่อีก
วิธีการใช้ นำใบโปร่งฟ้าสด 1-2 ใบ เคี้ยวเวลาเกิดอาการอยากสูบบุหรี่
รางจืด ใช้สำหรับล้างพิษในร่างกายจากการได้รับสารเคมี ซึ่งสารสกัดน้ำจากใบรางจืดจะช่วยล้างสารพิษ นิโคตินในตับ โดยสามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นใบ ราก หรือเถา (สรรพคุณที่ดีที่สุดของรางจืดจะอยู่ที่ราก)
วิธีการใช้
1. เลือกใบรางจืดที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โขลกให้แหลกผสมน้ำซาวข้า (เพราะน้ำซาวข้าวจะช่วยให้ฤทธิ์ยาแล่นเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็ว)
2. คั้นเอาแต่น้ำดื่ม ซึ่งจะมีความเข้มข้นสูง
3. ใช้ใบสด 4-5 ใบ ฉีก และชงในน้ำร้อนดื่ม
ข้อควรระวัง การกินรางจืดไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 7 วัน เพราะมีผลต่อตับ และควรดื่มน้ำมะพร้าว เพื่อช่วยรักษาวิตามินในร่างกาย
ที่มา : คู่มือ ทางเลือกเพื่อลด ละ เลิกบุหรี่ โดย สสส.